วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล


สรุปบทที่ 5
                เราจะแบ่งการจัดแฟ้มข้อมูลออกเป็น แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียนของข้อมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
                การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง
                ฐานข้อมูล  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้ไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและปรุยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมี  ประสิทธิภาพ
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายข้อมูล หมายถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆมากกว่า แห่ง โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง ขณะที่ข้อมูลส่วนที่เหลืออาจจะถูกเก็บรวมไว้ในอีกที่หนึ่งหรือถูกแยกเก็บไว้ตามที่ต่างๆ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกเรียกมาประมวลผล

แบบฝึกหัด
1.  เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ  อะไรบ้าง
ตอบ  เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น  2  แบบดังต่อไปนี้
                1.  การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียบ 
                2.  การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง


2.  จงอธิบายความหมาย  ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ  การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง  
                การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มมีข้อดีดังนี้
                1.  การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว 
                2.  สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                3.  มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังนี้
                1.  ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น
                2.  การเปลี่ยนแปลจำนวนระเบียบจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                3.  มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง


3.  ฐานข้อมูลคืออะไร  และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ   ฐานข้อมูล  (Database)  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน  ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


4.  เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็น  3  ประเภท  ดังต่อไปนี้
                1.  แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น  (Hierarchical  Data  Model)
                2.  แบบจำลองการจัดการข้อมูลแบบเครือข่าย  (Network Data Model)
                3.  แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational Data Model)

5.  จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ   ตารางเปรียบเทียบการใช้งานของแบบจำลองการจัดการข้อมูล

ชนิดของแบบจำลอง
ประสิทธิภาพการทำงาน
ความยืดหยุ่น
ความสะดวกต่อการใช้งาน
เชิงลำดับขั้น
สูง
ต่ำ
ต่ำ
เครือข่าย
ค่อนข้างสูง
ค่อนข้างต่ำ
ปานกลาง
เชิงสัมพันธ์
ต่ำ  (กำลังพัฒนา)
สูงหรือต่ำ
สูง


6.  ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบการจัดการฐานข้อมูล  (Database  Management  System;  DBMS)  หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบฐานข้อมูล  เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือก  ข้อมูล  และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


7.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  พจนานุกรมข้อมูล  (Data Dictionary) เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมายและอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต


8.  นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
ตอบ  หน้าที่สำคัญของนักบริหารฐานข้อมูลมีดังนี้
                1.  ประสานงานกับผู้จัดการแฟ้มข้อมูล  (File Manager) ในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
                2.  ควบคุมความสมบูรณ์แน่นอนของข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานตลอดเวลา       
3.  ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลมิให้ถูกจารกรรม  ก่อการร้าย  สูญหาย  หรือถูกทำลายโดยไม่ตั้งใจ
4.  ดูแลรักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างระบบข้อมูลสำรองขึ้น
5.  ควบคุมความต่อเนื่องและลำดับในการทำงานที่เหมาะสม


9.  เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ  (CIO)  และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ  รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ ตามแต่การแบ่งงานขององค์การ ขณะที่บางองค์การได้แยกหน่วยงานทางด้านสารสนเทศออกเป็นอิสระจากองค์การเดิม


10.  จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ต้องมีความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย ส่งผลให้องค์การไม่จำเป็นต้องทำการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดวันที่ 23/04/56


1. จุดประสงค์หลักของระบบ MIS คืออะไร
ตอบ
1.  สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
2.  สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน


2. ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คืออะไร มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจทั่วไปอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ      
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งใน ระดับ มหภาค และจุลภาค โดยระบบสังคมใหม่เป็นสังคมที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ บุคคลสามารถเข้าถึงและ นำข้อมูล มาใช้ ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดพัฒนาการที่รวดเร็วทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง และเทคโนโลยี นอกจากการเปลี่ยนแปลง ในระดับมหภาคแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ซึ่งช่วยสร้างความ สามารถใน การแข่งขันและ ศักยภาพในการ เติบโตแก่ธุรกิจ บูรณาการของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
          2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงการสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
          3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (Information System Infrastructure)เช่นอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสาร และจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความ ยืดหยุ่นในการปรับ แต่งของงาน สาร สนเทศ ในองค์การ
          4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการ ประยุกต์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ


3. วัตถุประสงค์สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศทางการบัญชี การเงิน การตลาด การผลิตและควบคุมสินค้าคงคลัง และระบบสารสนเทศด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์มาใช้ เพื่อประโยชน์ด้านใด จงสรุป
ตอบ
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการขายและการตลาด  มีหน้าที่หลักทางการขายและการตลาด (sale and marketing) 
การวางแผนเกี่ยวกับตัวสินค้า  เป็นต้นว่า ความสามารถในการผลิต แนวโน้ม สินค้า  การกำหนดช่องทางการจำหน่ายสินค้า  เช่น  สถานที่  ผู้จัดจำหน่าย  การขนส่ง   การกำหนดราคาสินค้า เช่น การให้ส่วนลด ต้นทุนการผลิต  ผลกำไร  และการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขาย  เช่น การโฆษณา  การลดราคา
2.ระบบสารสนเทศทางการผลิต มีหน้าที่หลักทางการผลิต (manufacturing / production/operation)   การออกแบบผลิตภัณฑ์  เช่น การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือ แคด (Computer Aided Design :CAD) การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือ แคม   (Computer Aided Manufacturing :CAM)  การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ หรือ เอ็มอาร์พี (Material Requirement Planning :MRP) การออกแบบสถานที่ผลิต เช่น โรงงาน สถานที่  ด้านการผลิต  ได้แก่  การจัดตารางงานการผลิตสินค้า ระบบสินค้าคงคลัง   การควบคุมคุณภาพ
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน  ทำหน้าที่หลักทางการเงิน (finance)  เกี่ยวกับการคาดการณ์ทางการเงิน    ได้แก่ แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ  แหล่งที่มาการใช้จ่าย   การจัดการเงินทุน  เช่น แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ และ การตรวจสอบ เช่น  งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล
4.ระบบสารสนเทศทางบัญชี  ทำหน้าที่ด้านการดำเนินการและจัดการทางบัญชี  (Accounting) ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชีระดับปฏิบัติการ   ระบบประมวลผลธุรกรรมต่าง ๆ เช่น บัญชีเจ้าหนี้ และระบบบัญชีระดับจัดการ  เช่น  เน้นการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติ เช่น บัญชีต้นทุน และ การพัฒนางบประมาณทางการเงิน
5.ระบบสารสนเทศทางทรัพยากรมนุษย์ ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) การคัดเลือก และจัดจ้างพนักงาน  การวิเคราะห์ค่าตอบแทน ประเมินผลกาทำงาน วิเคราะห์ผลประโยชน์ของลูกจ้าง พนักงานจัดทำแผนสวัสดิการ พยากรณ์ความต้องการกำลังคน การอบรม การพัฒนา บุคลากร

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดวันที่ 9/เม.ย./2556

1.ทำไมการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน จึงเห็นความสำคัญต่อการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการและขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปสู่เป้าหมาย จงอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ
ตอบ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
       การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันก็คือ การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งขัน  เช่น ระบบสารสนเทศใหม่สามารุให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม เพราะมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์ หรือช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและชัดเจนขึ้น หรือผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
2. โช่คุณค่า หมายถึงอะไร ประกอบด้วยกิจกรรมใด จงอธิบาย
ตอบ ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยปฏิบัติการว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไร โดยคุณค่าที่ตัวสินค้าสร้างขึ้น สามารถวัดได้โดยการพิจารณาว่า ผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้ามากน้อยเพียงใด
สายโซ่ของมูลค่า (value chain) ของหน่วยงานจึงหมายถึง ระบบของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกัน ความเชื่อมโยงนี้หมายถึงว่า เมื่อดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งไปจะมีผลกระทบต่อต้นทุนหรือประสิทธิผลของกิจกรรมอื่นด้วย ความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องมีการเปรียบเทียบ (trade-offs) ในการทำงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมโดยรวมของบริษัทจะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หากต้นทุนในการออกแบบสินค้ามีราคาสูง และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคาแพง ก็จะทำให้ต้นทุนหลังการขายลดลงด้วย เพราะสินค้าได้รับการออกแบบมาอย่างดีและผลิตด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพปัญหาที่ติดตามมาย่อมจะน้อยลงด้วยปัญหาจึงอยู่ที่บริษัทด้วยว่าจะพิจารณาในเรื่องการเปรียบเทียบ (trade-offs) นี้อย่างไรจึงจะเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ในทัศนะของไมเคิล อีพอร์ตเตอร์ คือ การเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆซึ่งสร้างมุลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร สามารถแบ่งออกได้ 2 กิจกรรมได้แก่
-    กิจกรรมพื้นฐาน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูป จนการนำเข้าสินค้าสำเร็จส่งถึงมือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
-     กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนด้วยกันเอง กล่าวคือ เริ่มต้นตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจากฝ่ายผู้จัดหา ป้อนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งกระบวนการการผลิตและการตลาด และสิ้นสุดที่การกระจายสินค้าสำเร็จรูปสู่ผู้บริโภค
การจัดการห่วงโซ่คุณค่า เป็นการจัดการโดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า (willing to pay) องค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ณ กรณีนี้ แบ่งออก ดังนี้
- Mills (ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้น)
- Manufactures (โรงงานแปรรูปผู้ผลิต)
-Trade Shipper (ตัวแทนผู้ส่งออก)
- Importer (ตัวแทนนำเข้า)
- Wholesaler (ตัวแทนค้าส่ง)
-Sales Representative (ตัวแทนจัดจำหน่าย)
- Retailers/Chain Store (ร้านค้าปลีก)
- Department Store (ห้างสรรพสินค้า)
โดยกิจกรรมทุกประเภทจะต้องมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า



บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ


สรุป
            บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ผู้ใช้ระบบ หมายถึง ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานกับระบบสารสนเทศ   ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฎิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การมีดังนี้
1. ความต้องการ
2. กลยุทธ์
3. เทคโนโลยี
4. ความซับซ้อน
5. ความผิดพลาด
6. มาตรฐาน
ปัจจัยการพัฒนาระบบมีดังนี้
1. ผู้ใช้ระบบ
2. การวางแผน
3. การทดสอบ
4. การจัดการเอกสาร
5. การเตรียมความพร้อม
6. การตรวจสอบและประเมินผล
7. การบำรุงรักษา
8. อนาคต
ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ หรือเรียกว่า SA มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสำคัญของนักวิเคราะห์ระบบคือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ อีกทั้งระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศนักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นต้น

แบบฝึกหัด
1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง ?
ตอบ   ตั้งแต่เริ่มที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการพัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลา และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ


2.   ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง?
ตอบ      1. ผู้ใช้ระบบ
2. การวางแผน
3. การทดสอบ
4. การจัดเก็บเอกสาร
5. การเตรียมความพร้อม
6. การตรวจสอบและประเมินผล
7. การบำรุงรักษา
8. อนาคต


3.   หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง?
ตอบ   1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะเวลาในการพัฒนาระบบ

           2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
           3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน และวางแผนให้สอดคล้องกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย

          4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ระบบ

          5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ

          6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบได้ และรองรับอนาคต

          7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการะ เคราะห์ระบบโดยละเอียด
          8. กำหนดลักษณะของเครือ ข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์

          9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และร่วมกันทดสอบโปรแกรมที่พัฒนา

         10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบรวม ถึงการเตรียมแผนรองรับในการปรับเปลี่ยนระบบ
         11. จัดทำแบบสอบถามถึงการดำเนินงานของระบบใหม่ ที่ได้ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน
         12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้มีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด

         13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนเกี่ยวข้องกับระบบ


4.  ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสานสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน โดยจัดรูปแบบการทำงานแบบโครงการ เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตงานหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน


ประกอบไปด้วยบุคคลดังนี้

1.   คณะ กรรมการดำเนินงาน
2.   ผู้ จัดการระบบสารสนเทศ
3.   ผู้ จัดการโครงการ
4.   นัก เขีสยนโปรแกรม
5.   นัก วิเคราะห์ระบบ
6.   เจ้า หน้าที่รวบรวมข้อมูล
7.    ผู้ ใช้และผู้จัดการทั่วไป

                5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง ?
ตอบ  4 วิธีดังนี้

1.  วิธีเฉพาะเจาะจง
2.  วิธีสร้างฐานข้อมูล
3.  วิธีจากล่างขึ้นบน
4.  วิธีจากบนลงล่าง


6.  การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?
ตอบ   5 ขั้นตอนดังนี้

1.     การ สำรวจเบื้องต้น
2.     การ วิเคราะห์ความต้องการ
3.     การ ออกแบบระบบ
4.     การ จัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5.     การ ติดต่อระบบและการบำรุงรักษา


7.  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น?
ตอบ    การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ สารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ เป็นต้น


8.    ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ?
ตอบ   มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่ มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ความต้องการของผู้ใช้  การใช้งานในแต่ละด้านของระบบ ใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดทำรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ


9.   ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
ตอบ    ทีม งานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วยประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอ จากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และ ส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป


10.    ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะ ต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบต้องทำการจัดหามิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมงานพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์ และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป


11.    ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะ ควบคุมและดุแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบ ไว้หรือไม่และการติดตั้งควรที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา


12.    รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง?จงอธิบาย
ตอบ  4 รูปแบบ

1.   รูป แบบน้ำตก(Waterfll Model) วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี 1970 ค.ศ. เป็นรูปแบบที่มีมานาน และเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

2.    รูป แบบวิวัฒนาการ(Evolutionary Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎี วิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเวอร์ชัน แรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาข้อดีข้อเสียของระบบ หาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและการประเมินระบบ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบใหม่จนได้ระบบงานในเวอร์ชันที่ 2 เวอร์ชันที่ 3เวอร์ชันที่  4 และเวอร์ชันต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ต้องมีการวางแผนกำหนดจำนวนเวอร์ชัน ตั้งแต่เริ่มโตรงการพัฒนาระบบให้ชัดเจน

3.   รูป แบบค่อยเป็นค่อยไป(Incremental Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบ วิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง  เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาขั้นแรกนั้นจะยังไม่ใช่ระบบที่ สมบูรณ์ แต่เป็นระบบส่วนแรกเท่านั้นจากระบบที่ต้องการทั้งหมด จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นที่ 2 จึงได้ระบบที่มีส่วน ที่ 2  เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่นๆ เข้าไปจนครบทุกส่วน จนกลายเป็นระบบที่สมบูรณ์มากที่สุด เหมาะสมกับการพัฒนาระบบที่มีงานหลายส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
4.  รูป แบบเกลียว (Spiral Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว จะมีลักษณะที่กระบวนหารวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จนวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์  การพัฒนาระบบงานด้วย วงจรการพัฒนาในรูปแบบนี้มีความยึดหยุ่นมากที่สุด  เนื่อง จากจากระบวนการทำงานใน 1 รอบ ไม่จะเป็นต้องได้ระบบ และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนในเละรอบนั้นจะใช้เวลาเท่าไรก็ได้  ไม่จำเป็นต้องเท่ากันในทุก ๆ รอบ ถ้าหากไม่มีความจำเป็น บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้


13.    การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   4  วิธี

1.    การปรับเปลี่ยนโดยตรง (Drrect Conversion) เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที  ซึ่งจะรวดเร็วและไม่ซับซ้อน วิธีการแบบนี้องค์การหรือมีข้อบกพร่อง ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่มีระบบใดมารองรับในการใช้งานแทนเลย
2.    การปรับเปลี่ยนแบบขนาน(Parallel Conversion) เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า ถ้าระบบงานใหม่ยังไม่สมารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงแล้วก็ ยังมีระบบเก่าที่สามารถทำงานได้รองรับงานอยู่


3.   การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ(Phased Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านหนึ่ง ก่อน เมื่องานด้านนั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงขยายการปรับเปลี่ยนระบบออกไปในด้านอื่นอีก เช่น การเปลี่ยนใช้ระบบใหม่เฉพาะเรื่องการบริหารงานบุคคล เป็นต้น
4.  การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง(Pilot Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ส่วนหนึ่งติดตั้งเสร็จ และใช้งานได้ดีแล้ว ก็จะขยายผลไปในส่วนต่อ ๆ ไป เช่น บางองค์การที่มีสำนักงานอยู่หลายสาขาหลังจากดำเนินการได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะขยายใหม่ไปติดตั้งและใช้งานสาขาอื่นต่อไป เป็นตัน