วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ




สรุปบทที่
 2

                ข้อมูล หมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกเรียบเรียงจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในภายนอกองค์การ โดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้ไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงาน โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นเราสามารถกล่าวได้ว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายหรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากข้อมูลที่ดีย่อมเป็นวัตถุดิบสำหรับสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจวางแผน กำหนดเป้าหมาย และแก้ปัญหาในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นได้อย่างดี
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
                1.เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ
                2.วิธีการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล
                3.การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปของรายงานต่างๆ

MIS จะช่วยผู้บริหารในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวางแผนตรวจสอบการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสาเหตุและการทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ดีควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้ตรงกับความต้องการีของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
                ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง  ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน โดยระบบสารสนเทศช่วยให้ใช้ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ปัญหาถ้าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นในการดำเนินงาน กิจกรรมของระบบสารสนเทศที่กล่าวมาจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาวะทางธุรกิจทีมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน
                ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม โดยมีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี  ผู้จัดดารทุกคนต่างต้องมีความรับผิดชอบในการใช้งานระบบสารสนเทศขององค์การ โดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
·       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ
·       เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัฒน์
·       ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
·       มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
·       บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
·       จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
·       ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
·       เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก เช่น การเงิน การตลาด หรือการปฏิบัติการ  ตลอดจนอาจถูกจัดตั้งแยกออกจากองค์การตามความเหมาะสมและความต้องการสารสนเทศ อย่างไรก็ดี  การจัดการองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติการและบริการ
                จากที่กล่าวมาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า IT ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์การ หรือสังคมทั้งทางบวกและทางลบ และจะเห็นได้ว่า  ระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  เนื่องจากการพัฒนา ITทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์  และผู้เสียประโยชน์  ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ที่ทำงาน  และผู้ที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีสารสนเทศต้องตระหนักและให้ความสำคัญ  โดยผู้ทำงานกับระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ  ความเป็นส่วนตัว  ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้ามาใช้ข้อมูล


แบบฝึกหัด
 1.  นิยามความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
     ตอบ       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์  เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ

2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ มีความแตกต่างกัน
             ข้อมูล (Data) คือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ชื่อที่อยู่ลูกค้า ยอดขายในแต่ละวัน เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
             สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 
                  
3.   สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  สารสนเทศที่ดีย่อมนำไปสู่การตัดสินใจที่มีความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือช่วยแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดเมื่อผ่านกระบวนการนำเข้าข้อมูลที่มีความถูกต้อง   และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ      ดังนั้นการคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพของสารสนเทศจะช่วยให้สามารถลดข้อผิดพลาด และค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดีมีดังนี้
          1. มีความถูกต้อง (Accurate) สารสนเทศจะต้องไม่นำข้อมูล (D ata) ที่ผิดพลาดเข้าสู่ระบบ เพราะเมื่อนำไปประมวลผลแล้ว จะทำให้ได้สารสนเทศที่ผิดพลาดตามไปด้วย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "Garbage in - Garbage out (GIGO)"
          2. มีความสมบูรณ์ (Complete) สา รสนเทศที่ดีจะต้องมีข้อมูลในส่วนสำคัญครบถ้วน เช่น  ถ้าเป็นรายงานการสั่งซื้อวัตถุดิบรายเดือน หากไม่มียอดสั่งซื้อรวมแล้ว ก็ถือว่าเป็นสารสนเทศที่ไม่สมบูรณ์
          3. มีความคุ้มทุน (Economical) สารสนเทศที่ดีจะต้องผ่านกระบวนการที่มีต้นทุนน้อยกว่าหรือเท่ากับกำไรที่ได้จากการผลิต
          4. มีความยืดหยุ่น (Flexible) จะต้องสามารถนำสารสนเทศไปใช้ได้กับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น   รายงานยอดคงเหลือของวัตถุดิบที่มีอยู่จริง สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบได้โดยฝ่ายจัดซื้อ สามารถนำไปใช้ในการคำนวณการลงทุนได้และสามารนำไปใช้ในการคำนวณยอดขายได้ เป็นต้น
          5. มีความเชื่อถือได้ (Reliable)  ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศนั้นขึ้นอยู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก   แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้
          6. ตรงประเด็น (Relevant)  สารสนเทศที่ดีต้องมีความสัมพันธ์กับงานที่ต้องการวิเคราะห์         หากเป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงประเด็นจะทำให้เสียเวลาในการทำงาน
          7. มีความง่าย (Simple)  สารสนเทศที่ดีต้องไม่ซับซ้อน  กล่าวคือ  ง่ายต่อการทำความเข้าใจ   เพราะความซับซ้อนคือการมีรายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไป จนทำให้ไม่ทราบความสำคัญที่แท้จริงของสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจนั้น
          8. มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Timely) ต้องเป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัยอยู่เสมอ เมื่อต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจจะทำให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เช่น   ยอดจำหน่ายเสื้อกันหนาวในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ไม่อาจนำมาประมาณการยอดจำหน่ายของเสื้อชนิดเดียวกันในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมได้
          9. สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable)   สารสนเทศที่ดีต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยอาจตรวจสอบจากแหล่งที่มีของสารสนเทศ เป็นต้น
 4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
       ตอบ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานด้านต่าง ๆ มากขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่าสารสนเทศ เพื่อการ จัดการมีประโยชน์ ดังนี้
            1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูล ถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
            2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก ระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการ ดำเนินงาน เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บ รวบ รวม และจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนิน งานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
            3. ช่วยให้ผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล       เพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
            4. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผู้บริหารสามารถใช้ระบบสารสนเทศ ประกอบการ ศึกษา และการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่ วางเอาไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการ ปฏิบัติงานเกิดขึ้น จากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศ ในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
            5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการ ดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไข หรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนา ให้การดำเนิน งานเป็น ไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
            6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ในการ ทำงาน ลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงาน จำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้น ตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผล งานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ

5.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ  คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยตนเองหรือให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าดำเนินการ โดยการออกแบบและพัฒนา MIS ที่สอดคล้องตามหลักวิชาสามารถ จะอำนวยประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศ ต้อง คำนึงถึงคุณสมบัติของ MIS ดังต่อไปนี้
            1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation) ระบบสารสนเทศที่ดี ต้องสามารถปรับปรุง แก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน อย่างมีประสิทธิภาพ ปกติข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรจะได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้มีความทันสมัยและ เหมาะสม กับการ ใช้งานอยู่เสมอ
            2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งขององค์การ ถ้าสารสนเทศ บาง ประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดการเสียโอกาสทาง การแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ นอกจากนี้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบจะมีผลโดยตรง ต่อประสิทธิภาพ และความ อยู่รอด ขององค์การ ดังนั้นผู้บริหาร หรือเจ้าของระบบจะไม่ยอมให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือ ไม่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการ จัดการข้อมูลเข้า ถึงฐาน ข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจได้
            3. ความยืดหยุ่น (Flexibility) สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขัน การค้า ที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบ สารสนเทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอด คล้อง กับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถ ตอบสนอง ความต้องการของ ผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
            4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction) ปกติ MIS ถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่ง หวังให้มี ผู้ใช้สามารถ นำมา  ประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นระบบสารสนเทศที่ดี จะต้องกระตุ้น หรือ โน้มน้าว  ให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาระบบจะต้อง ใช้เงินลงทุนสูงจึง ต้องใช้งาน ให้คุ้มค่า ดังนั้นธุรกิจสมควรที่จะพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้ และทำให้ผู้ใช้เกิดความ พอใจต่อระบบ เพราะถ้าระบบไม่สามารถให้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการโอกาสที่ระบบจะถูกใช้งาน และได้รับความนิยม ก็จะน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ระบบสารสนเทศไม่สามารถ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ตามคาดหวัง และเป็นผล ให้เกิดการสูญเสียหรือไม่คุ้มค่าในการลงทุน เราสามารถกล่าวได้ว่า ทุกองค์การ ต้องการระบบ สารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพ แต่ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง และอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย แต่ระบบ MIS ที่ดีสมควรต้องเป็นระบบที่เหมาะสม ามารถ ประมวล และจัดการข้อมูลตามต้องการ และสะดวกในการใช้งาน ตรงตามความต้องการ และความ สามารถของผู้ใช้ ตลอดจนสามารถพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ในอนาคต
  
6.  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
   ตอบ งานในการบริหารจัดการขององค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับใหญ่ๆ คือ การบริหารจัดการระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีความแตกต่างกันไปตามระดับการบริหารจัดการดังนี้ 
1.  ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager)  คือ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูงสุดของสายบังคับบัญชา ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบองค์การทั้งหมดและเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายสำคัญๆ ให้กับองค์การ ขอบเขตการบริหารจัดการจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ  
                   2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) คือ ผู้บริหารที่อยู่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับเอาเป้าหมาย นโยบายและแผนงานจากผู้บริหารระดับสูงให้นำไปปฏิบัติ ทำหน้าที่ประสานงานโดยพยายามรวบรวมผลสำเร็จของการทำงานภายในหน่วยงานที่ตนรับผิด             ชอบอยู่ ส่งมอบให้กับผู้บริหารระดับที่อยู่สูงถัดขึ้นไป ขณะเดียวกันก็จะคอยร่วมมือช่วยเหลือในการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่มากระทบจากภายนอกด้วย ผู้บริหารระดับกลางยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการทำงานของผู้บริหารที่อยู่ระดับล่างลงมา
              3.ผู้บริหารระดับต้น (First-line Manager or First-line Supervisor) คือ ผู้บริหารระดับล่างสุด รับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ เป็นผู้ใกล้ชิดและสั่งการโดยตรงกับ   พนักงานปฏิบัติการและมีโอกาสรู้ความเป็นไปของปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดปฏิบัติงาน  ในบางองค์การ อาจจะมีกำหนดตำแหน่งงานของผู้บริหารระดับต้น เป็น Line Manager  หัวหน้างาน Supervisor  หัวหน้างาน Foreman ผู้นำกลุ่ม (Crew Leader) เป็นต้น  
             ถึงแม้ว่ากระบวนการในการบริหารจัดการซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับจะมีพื้นฐานในปฏิบัติที่เหมือนกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างกันในการใช้ทักษะด้านการบริหารจัดการ (Management Skills) และขอบเขตที่ผู้บริหารแต่ละระดับไปเกี่ยวข้อง ดังนี้
              1.ทักษะด้านความคิด  (Conceptual Skill) เป็นความสามารถในการเข้าใจองค์การโดยรวม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิสัยทัศน์และคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี พร้อมกับมีความคิดริเริ่ม โดยสามารถคิดกลยุทธ์วิธีต่างๆ หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าออกมาได้เสมอๆ   
             2.ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (People Skill) เป็นทักษะที่สร้างความร่วมมือในกลุ่มงาน รู้ถึงจิตใจคน เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ รวมถึงทักษะในด้านการติดต่อสื่อสารและจูงใจคน ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานกันที่ดีและเกิดการทุ่มเททำงานอุทิศให้กับองค์การ
              3.ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skill) เป็นการใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการปฏิบัติงานเชิงเทคนิค รู้วิธีปฏิบัติงานและสามารถเข้าใจปัญหาด้านเทคนิคต่างๆ เป็นอย่างดี รวมถึงเข้าใจสภาพเงื่อนไขของทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการทำงานและรู้จักปรับปรุงวิธีการทำงานให้ทีประสิทธิภาพด้วย

7.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ
ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับ
ปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับ
กลาง
ผู้จัดการระดับสูง
ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
มาก
-สรุปกว้าง ๆ
-สรุปชัดเจน
การรายงานเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว
เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
อนาคต
ความถูกต้องของสารสนเทศ
สูง
ปานกลาง
ตามความเหมาะสม

8.  ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ
1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตณ์
3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
4.) มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
7.) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน แก่ผู้ใช้อื่น
8.) เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่ เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.) หน่วยวิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit)
2.) หน่วย เขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit)
 3.) หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit)

10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1.) หัวหน้าพนักงาน สารสนเทศ
2.) นักวิเคราะห์และ ออกแบบ
 3.) ผู้เขียนชุดคำ สั่ง
 4.) ผู้ควบคุม เครื่องคอมพิวเตอร์
 5.) ผู้จัดตารางเวลา
 6.)  พนักงานจัดเก็บและรักษา
 7.)  พนักงานจัดเตรียมข้อมูล

11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ ?
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการใช้งานมากขึ้น ผลของการพัฒนา ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
              ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งทางบวกและทางลบ ทางบวกทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดกาค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ส่งเสริมสุขภาพและ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทางลบทำให้เกิดอาชญากรรม ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากข้อมูลเกิดการสูญหาย ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้จักการใช้งานที่เหมาะสม ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็จำเป็นต้องปลูกฝังเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หรือทางบวก มิใช่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นเสมอๆ
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
              ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์เหล่านี้จะช่วยให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ ข้อบังคับของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิก จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและ ผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้บริการอยู่ มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้เป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายมากมาย การส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายไปยังเครือข่ายอื่นๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายหลายเครือข่ายจนกว่าจดหมายฉบับนั้นจะเดินทางถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหา ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย แม้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะได้รับสิทธิ์จากผู้บริหารเครือข่ายให้ใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายนั้นได้ผู้ใช้จะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เครือข่ายนั้นวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใดๆ ที่จะสร้างปัญหาหรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำอย่างเคร่งครัด
              การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่น่าใช้และเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน       เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน 
           กฎหมายและศีลธรรม (Motal) เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสังคมมาช้านานเราพอเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า รัฐเป็นผู้ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับพลเมืองในอาณาเขตของรัฐ ขณะศีลธรรมเป็นข้อบัญญัติทางศาสนาซึ่งเป็นหลักความเชื่อของประชาชน จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
ลินดา เฮอร์นดอน ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ (Association of ComputerMachinery ACM Code of Conduct) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีดังนี้
1. กฏข้อบังคับทางศีลธรรมทั่วไป1. ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์ ข้อนี้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน เคารพความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งหมด ลดผลด้านลบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
2. ไม่ทำอันตรายแก่ผู้อื่น อันตรายหมายรวมถึง การบาดเจ็บหรือผลต่อเนื่องด้านลบ เช่น การสูญเสียข้อมูลอันเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา หลักการข้อนี้ห้ามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปทำอันตรายต่อผู้ใช้สาธารณชน พนักงานและนายจ้างอันตรายนี้รวมถึงการจงใจทำลายหรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ทำให้สูญเสีย หรือเสียเวลาและความพยายามของบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ทำลายไวรัสคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องรายงานสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลต่อความเสียหายของสังคมและบุคคล แม้ว่าหัวหน้างานจะไม่ลงมือแก้ไขหรือลดทอนอันตรายนั้น ก็อาจจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทราบโดยอาจอาศัยผู้ร่วมวิชาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ซื่อสัตย์และไว้วางใจได้ นักคอมพิวเตอร์ที่ซื่อสัตย์นอกจากจะไม่จงใจแอบอ้างระบบหรือการออกแบบที่หลอกลวงอันเป็นเท็จแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยอย่างเต็มที่ให้เห็นข้อจำกัดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดอีกด้วย
4. ยุติธรรมและการกระทำที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ข้อบังคับข้อนี้ใช้คุณค่าของความเสมอภาค ความใจกว้างให้อภัย เคารพในผู้อื่น ความเที่ยงธรรม การแบ่งแยกกีดกันโดยเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ความพิการ สัญชาติ หรือปัจจัยอื่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
5. ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิ์บัตร แม้ว่าสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า การละเมิดข้อตกลงการใช้สิทธิ จะได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว แม้แต่ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง การละเมิดก็ถือว่าเป็นการขัดต่อการประพฤติทางวิชาชีพ การลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์จะต้องทำโดยมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น การทำสำเนาวัสดุใด ๆ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้
6. ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องป้องกันหลักคุณธรรมของทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่างานนั้นจะไม่ได้รับการป้องกันอย่างเปิดเผยก็ตาม เช่น งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
7. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หลักการนี้ยังหมายถึง การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบเท่าที่จำเป็น มีระยะเวลากำหนดการเก็บรักษาและทิ้งอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่อการอื่นโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นมิได้
8. ให้เกียรติในการรักษาความลับ หลักแห่งความซื่อสัตย์ข้อนี้ขยายไปถึงความลับของข้อมูลที่ไม่ว่าจะแจ้งโดยเปิดเผยหรือสัญญว่าจะปกปิดเป็นความลับ หรือโดยนัยเมื่อข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้นั้นปรากฏขึ้น จริยธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องกับการเคารพข้อบังคับทั้งหลายที่เกี่ยวกับความลับของขายจ้าง ลูกค้า ผู้ใช้ เว้นเสียแต่เปิดเผยโดยกฏหมายบังคับหรือตามหลักแห่งจรรยาบรรณนี้
2. ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
1. มุ่งมั่นเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด และให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่สืบเนื่องจากระบบที่ด้อยคุณภาพ
2. ได้มาและรักษาไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญแห่งวิชาชีพ
3. รับรู้และเคารพกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแห่งรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ
4. ยอมรับและจัดให้มีการสอบทานทางวิชาชีพ (Professional Review) 
5. ให้ความเห็นประเมินระบบคอมพิวเตอร์และผลกระทบอย่างละเอียดครบถ้วน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ 
6. ให้เกียรติ รักษาสัญญา ข้อตกลง และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 
7. ปรับปรุงความเข้าใจของสาธารณชนต่อคอมพิวเตอร์และผลสืบเนื่อง
8.เข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์และสื่บสารเฉพาะเมื่อได้รับมอบอำนาจตามหน้าที่เท่านั้นไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซอฟต์แวร์ แฟ้มข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาต
3. จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส 
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า 
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร 
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง 
4. คิดก่อนเขียน 
5. อย่าใช้อารมณ์ 
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ 
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่ 
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ 
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า 
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก 
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน 
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง 
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            ตอบ     ผลกระทบทางบวกคือ
                -  เพิ่มความสะดวกสบายในเรื่องการสื่อสาร การบริการ และการผลิต
                -  เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                -  มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
                -  เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ
                -  พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
ผลกระทบทางลบคือ
                -  ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                -  ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                -  ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                -  การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                -  อาชญากรรมบนเครือข่าย
                -  เกิดช่องว่างทางสังคม  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น