วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดวันที่ 9/เม.ย./2556

1.ทำไมการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน จึงเห็นความสำคัญต่อการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการและขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปสู่เป้าหมาย จงอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ
ตอบ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
       การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันก็คือ การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งขัน  เช่น ระบบสารสนเทศใหม่สามารุให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม เพราะมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์ หรือช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและชัดเจนขึ้น หรือผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
2. โช่คุณค่า หมายถึงอะไร ประกอบด้วยกิจกรรมใด จงอธิบาย
ตอบ ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยปฏิบัติการว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไร โดยคุณค่าที่ตัวสินค้าสร้างขึ้น สามารถวัดได้โดยการพิจารณาว่า ผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้ามากน้อยเพียงใด
สายโซ่ของมูลค่า (value chain) ของหน่วยงานจึงหมายถึง ระบบของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกัน ความเชื่อมโยงนี้หมายถึงว่า เมื่อดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งไปจะมีผลกระทบต่อต้นทุนหรือประสิทธิผลของกิจกรรมอื่นด้วย ความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องมีการเปรียบเทียบ (trade-offs) ในการทำงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมโดยรวมของบริษัทจะเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หากต้นทุนในการออกแบบสินค้ามีราคาสูง และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคาแพง ก็จะทำให้ต้นทุนหลังการขายลดลงด้วย เพราะสินค้าได้รับการออกแบบมาอย่างดีและผลิตด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพปัญหาที่ติดตามมาย่อมจะน้อยลงด้วยปัญหาจึงอยู่ที่บริษัทด้วยว่าจะพิจารณาในเรื่องการเปรียบเทียบ (trade-offs) นี้อย่างไรจึงจะเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ในทัศนะของไมเคิล อีพอร์ตเตอร์ คือ การเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆซึ่งสร้างมุลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร สามารถแบ่งออกได้ 2 กิจกรรมได้แก่
-    กิจกรรมพื้นฐาน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูป จนการนำเข้าสินค้าสำเร็จส่งถึงมือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
-     กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนด้วยกันเอง กล่าวคือ เริ่มต้นตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจากฝ่ายผู้จัดหา ป้อนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งกระบวนการการผลิตและการตลาด และสิ้นสุดที่การกระจายสินค้าสำเร็จรูปสู่ผู้บริโภค
การจัดการห่วงโซ่คุณค่า เป็นการจัดการโดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า (willing to pay) องค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ณ กรณีนี้ แบ่งออก ดังนี้
- Mills (ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นต้น)
- Manufactures (โรงงานแปรรูปผู้ผลิต)
-Trade Shipper (ตัวแทนผู้ส่งออก)
- Importer (ตัวแทนนำเข้า)
- Wholesaler (ตัวแทนค้าส่ง)
-Sales Representative (ตัวแทนจัดจำหน่าย)
- Retailers/Chain Store (ร้านค้าปลีก)
- Department Store (ห้างสรรพสินค้า)
โดยกิจกรรมทุกประเภทจะต้องมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น