วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


สรุปบทที่ 7

        การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ความมั่นคง และพัฒนาการององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ตลอดจนต้องตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์การ ที่เราจะเห็นความสำคัญได้จากงานวิจัยด้านการจัดการที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ซึ่งเราสามารถแบ่งการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์การได้เป็นระดับคือ การตัดสินใจระดับกลยุทธ์การติดสินใจระดับยุทธวิธี และการตัดสินใจระดับปฏิบัติการ

        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง อย่างไรก็ดี ปกติ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้หริหารที่ใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตน เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น ส่วนดังต่อไปนี้

        1. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องการ DSS แบ่งออกเป็น กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล

        2. ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนคือ ฐานข้อมูล ฐานแบบจำลองและชุดคำสั่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

        3. ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการออกแบบระบบการทำงานได้สอดคล้องกันมากเพียงใด แต่ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้ว DSS ก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะสร้างปัญหาในการติดสินใจได้

        4. บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยี่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น กลุ่มคือ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS

        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม GDSS

สำหรับกลุ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เพื่อให้การประสานงานภายในกลุ่มมีประสิทธิภาพ โดยที่อุปกรณ์แต่ละประเภทจะถูกออกแบบและดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ GDSS ต้องมีส่วนประกอบสำคัญคือ ชุดคำสั่งพิเศษที่ช่วยกำหนดขอบเขต ประเมินทางเลือกของปัญหา และประสานงานให้สมาชิกสามารถตัดสินใจในหาร่วมกัน หรือเรียกว่า ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม

        เราจะเห็นว่า DSS , GDSS และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือ EIS (ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป)ต่างเป็นระบบสารสนเทศที่มิใช่เพียงมีความสามารถในการจัดการข้อมูล เช่น ระบบ สารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน แต่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารการปรานงานของระบบงานภายในองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหม่ของการดำเนินงานของธุรกิจในยุคสารสนเทศ

  
แบบฝึกหัดบทที่ 7
       1. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ การตัดสินใจเป็นหน้าที่และบทบาทหลักสำคัญของผู้บริหาร การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือประสมความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่าง ๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับองค์การตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่สมารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ย่อจะสามารถนำพาองค์การให้ปฏิบัติงานด้วนดีและประสบความสำเร็จ
       2. เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นอีกระดับ อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจภายในองค์การแบ่งออกเป็น ระดับ
        1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์(Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจองผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งจะให้ความสนใจต่อนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขี้น
       2. การตัดสินจะดับยุทธวิธี(Tactical Decision Making) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลางโดยที่การตัดสินใจระดับนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการจัดการ เพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
        3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Decision making) หัวหน้าระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตดสินใจในระดับนี้
3. เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นอีกขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ กระบวนการตัดสินใจออกเป็น ขั้นตอน
         1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence)
         2. การออกแบบ (Design)
         3. การคัดเลือก (Choice)
4. การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจมี ประเภท
         1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเป็นกิจวัตร โดยการตัดสินใจประเภทนี้จะมีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้อย่างชันเจน
        2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ
         3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงการ (Semistructred Decision ) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจทั้ง ประเภท

5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        ตอบ การเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายซับซ้อน และไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจนจึงต้องนำต้องพยายามนำหลักการ เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโยลีสารสนเทศได้เข้ามีมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจ โดยเฉพาะช่วยสร้างความแน่นอนความเชื่อถือได้ และพัฒนาประสิทธิภาพในการตัดสนใจในปัญหาที่มีโครสร้างน้อยและไม่มีโครงสร้างให้สูงขึ้น
6. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
      7. DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่ม
        อุปกรณ์ประมวลผล
        อุปกรณ์สื่อสาร
       อุปกรณ์แสดงผล DSS
     2.ระบบการทำงาน ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญดังนี้
              - ฐานข้อมูล
              - ฐานแบบจำลอง
              - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
   3.ข้อมูล โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสมที่จะมีลักษณะดังนี้
-          มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้
-          มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
-         สามารถนำไปใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
-          มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาจัดรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
  4.บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคลากรจะต้องเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้DSS สามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องออกเป็น กลุ่ม
           - ผู้ใช้
           - ผู้สนับสนุน
      8. การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการเก็บข้อมูลให้ป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากกระบวนการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหานอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าปฏิบัติงานประจำวัน
     9. ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ 1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้น ๆ โดยผู้ที่จะใช้ระบบสมควรที่จะมีส่วนรวมในขั้นตอนนี้เป็นอย่างยิ่ง
         2. การออกแบบ (System Design) จะเป็นระบบสารสเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อย ๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสม
         3. การนำไปใช้ (ImplemrntaionDSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
10. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่มคือ เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม การที่ GDSS จะถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ ประการ
               - อุปกรณ์
               - ชุดคำสั่ง
               - บุคลากร
ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2.มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3.สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5.มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6.ช่วยในการประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7.มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น