วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดวันที่ 7/5/2556

1.  ระบบสารสนเทศทางธุรกิจคืออะไร มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจทั่วไปอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูก
พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบ
และพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถ
ประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดย
เราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งใน ระดับ มหภาค และจุลภาค โดยระบบสังคมใหม่เป็นสังคมที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ บุคคลสามารถเข้าถึงและ นำข้อมูล มาใช้ ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดพัฒนาการที่รวดเร็วทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง และเทคโนโลยี นอกจากการเปลี่ยนแปลง ในระดับมหภาคแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ซึ่งช่วยสร้างความ สามารถใน การแข่งขันและ ศักยภาพในการ เติบโตแก่ธุรกิจ 
บูรณาการของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงการสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (Information System Infrastructure) เช่นอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสาร และจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความ ยืดหยุ่นในการปรับ แต่งของงาน สาร สนเทศ ในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการ ประยุกต์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ 

2.  จงอธิบายวัตถุประสงค์สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศทางการบัญชี การเงิน การตลาด การผลิตและควบคุมสินค้าคงคลัง การจัดการทรัพยากรมนุษย์มาใช้ เพื่อประโยชน์ทางด้านใด จงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการขายและการตลาด  มีหน้าที่หลักทางการขายและการตลาด (sale and marketing) การวางแผนเกี่ยวกับตัวสินค้า  เป็นต้นว่า ความสามารถในการผลิต แนวโน้ม สินค้า  การกำหนดช่องทางการจำหน่ายสินค้า  เช่น  สถานที่  ผู้จัดจำหน่าย  การขนส่ง   การกำหนดราคาสินค้า เช่น การให้ส่วนลด ต้นทุนการผลิต  ผลกำไร  และการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขาย  เช่น การโฆษณา  การลดราคา
2.ระบบสารสนเทศทางการผลิต มีหน้าที่หลักทางการผลิต (manufacturing / production/operation)   การออกแบบผลิตภัณฑ์  เช่น การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือ แคด (Computer Aided Design :CAD) การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือ แคม   (Computer Aided Manufacturing :CAM)  การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ หรือ เอ็มอาร์พี (Material Requirement Planning :MRP) การออกแบบสถานที่ผลิต เช่น โรงงาน สถานที่  ด้านการผลิต  ได้แก่  การจัดตารางงานการผลิตสินค้า ระบบสินค้าคงคลัง   การควบคุมคุณภาพ
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน  ทำหน้าที่หลักทางการเงิน (finance)  เกี่ยวกับการคาดการณ์ทางการเงิน    ได้แก่ แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ  แหล่งที่มาการใช้จ่าย   การจัดการเงินทุน  เช่น แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ และ การตรวจสอบ เช่น  งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล
4.ระบบสารสนเทศทางบัญชี  ทำหน้าที่ด้านการดำเนินการและจัดการทางบัญชี  (Accounting) ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชีระดับปฏิบัติการ   ระบบประมวลผลธุรกรรมต่าง ๆ เช่น บัญชีเจ้าหนี้ และระบบบัญชีระดับจัดการ  เช่น  เน้นการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติ เช่น บัญชีต้นทุน และ การพัฒนางบประมาณทางการเงิน
5.ระบบสารสนเทศทางทรัพยากรมนุษย์ ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) การคัดเลือก และจัดจ้างพนักงาน  การวิเคราะห์ค่าตอบแทน ประเมินผลกาทำงาน วิเคราะห์ผลประโยชน์ของลูกจ้าง พนักงานจัดทำแผนสวัสดิการ พยากรณ์ความต้องการกำลังคน การอบรม การพัฒนา บุคลากร

3.  จงบอกความหมายของปัญญาประดิษฐ์  ผู้เชี่ยวชาญ  และการจัดการความรู้
ตอบ
ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญญาประดิษฐ์ คือ ความพยายามให้การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ระบบต่าง ๆ จะต้องมีความสามาระเข้าใจภาษามนุษย์ ทำงานที่ต้องการประสานงาน ระหว่างส่วนต่าง ๆ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบผู้ชำนาญการ (expert system) เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการหาคำตอบ อธิบายความไม่ชัดเจน ซึ่งปกตินั้นจะใช้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาตอบคำถามนั้น
ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์โดยอาศัยระบบฐานความรู้ (knowledge-based system) และกลไกการอนุมาน (inference engine) เป็นองค์ประกอบหลักในการทำงาน

การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น